แผ่นที่เห็นอยู่นี้คือ แผ่น ซอฟท์แวร์ ซึ่งเป็นยุคที่คอมพิวเตอร์กำลังได้รับความนิยมในขณะนั้น
แต่จะมีบริษัทเอกชนหรือหน่วยงานทางราชการมีใช้น้อยมากสาเหตุก็เพราะ
- มีราคาแพง
- ขาดบุคลากรที่ชำนาญการด้านนี้โดยตรง
- เมื่อซื้อคอมพิวเตอร์มาซักเครื่องในสมัยก่อน ทางบริษัทผู้จัดจำหน่ายต้องคอยจัดส่งบุคลากรมาคอยอบรมแนะนำวิธีใช้ให้ด้วย
- หรือเมื่อมีซอฟท์แวร์ตัวใหม่เข้ามาในตลาด ก็จะมีพนักงานมาสาธิตการใช้งานตามสำนักงานต่างๆ
- แผ่นซอฟท์แวร์เหล่านี้จะมีชื่อเรียกว่า แผ่นดิสก์เก็ต Diskette หรือฟล้อปฟลี่ดิสก์
- หนึ่งแผ่นจะเป็นหนึ่งโปรแกรม เนื่องจากคอมพิวเตอร์ในยุคสมัยของแผ่นเหล่านี้ไม่สามารถลงโปแกรมสำเร็จรูปต่างๆไว้ในหน่วยความจำของ CPU ได้ และคอมในยุคสมัยแผ่นเหล่านี้ก็มี RAM ต่ำมาก แต่ราคาแสนแพง
- ยิ่งไปกว่านั้นการซื้อคอมในยุคนั้นยังต้องซื้ออุปกรณ์เสริมอีกมากมายทั้งชุดสำรองไฟ เนื่องจากคอมยุคนี้ต้องมีไฟเลี้ยงหน่วยความจำตลอด ถ้าไฟดับจะเกิดความเสียหายต่อคอมและส่วนอื่นๆได้
MODEM ก็จะมีขนาดใหญ่เทอะทะ
- และที่สำคัญต้องมีเครื่องฮาร์ดไดร์ฟอีกต่างหากมาคอยอ่านแผ่นโปรแกรมเหล่านี้
- ความยากลำบากของหนุ่มสาวออฟฟิช สมัยแผ่นดิสก์เก็ตนี้อีกอย่างก็คือแผ่นราคาแพงและมีจำนวนจำกัดต่อบริษัท ถ้าบริษัทใดมีสาขา ก็ต้องมีพนักงานคอยวิ่งส่งแผ่นจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง กว่าจะทำงานเสร็จ หรือกว่าจะได้ทำงานต้องโดนนายจ้างเอ็ดกันเพราะนั่งรอแต่แผ่นว่าเมื่อไหร่จะมาถึง
- แต่เมื่อเวลาผ่านพ้นไปแผ่นเหล่านี้ กลับกลายเป็นของสะสมและหายาก เป็นประวัติศาสตร์หน้าหนึ่งของตัวมันเองและคนที่เคยใช้มันให้หวนลำรึกถึงเหตุการณ์เมื่อครั้งอดีต ที่หนุ่มสาวออฟฟิชแอบพิมพ์ข้อความฝากไว้ในคอมเพื่อจะให้สาวเจ้ามาเปิดดูแต่ดันไฟฟ้ามาดับข้อความก็อันตธาลหายไปด้วย ผมก็เป็นอีกคนหนึ่งซึ่งมีโอกาสได้ใช้คอมในยุคนี้ได้ฝึกหัดพิมพ์โปแกรมเวิร์ด บ้าง เอกซ์เซลบ้าง จนทำให้ผมมีความสนใจคอมพิวเตอร์แต่นั้นมา
เครื่องอ่านแผ่น
แผ่นโปรแกรมซิป ก็มีมาตั้งนานแล้วเช่นกัน
เมื่อเวลาผ่านไป ก็กลายเป็นกระเป๋าเท่ๆๆๆ
โครงสร้างส่วนต่างๆของโปแกรม
ที่เก็บต้องมีกุญแจล็อค เพราะมีราคาที่แพงมาก
หลากหลายสีสันให้เลือก
ก่อนใช้ต้องเสียบแผ่นเข้าไปในเครื่องเมื่อทำงานเสร็จก็ถอดออกให้พนักงานนำส่งที่อื่นต่อไป
ความทรงจำดีๆ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น