วันอังคารที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ประเภทของกราฟฟิค


ภาพแบบเวคเตอร์


ภาพกราฟฟิคในคอมพิวเตอร์แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท

    1. แบบเวคเตอร์ ( Vector ) เป็นแบบเส้นตรง เส้นโค้ง และรูปทรงเรขาคณิต ถูกเก็บอยู่ในรูปของคำสั่งโปรแกรมและค่าตัวเลขที่มีการคำนวณเมื่อแสดงผล ดังนั้นภาพประเภทนี้จึงมีความคมชัด ไม่ว่าจะขยายให้ใหญ่ขึ้นเท่าใด ก็ยังคงคงสภาพเช่นเดิมโดยไม่มีรอยแตกหัก หยัก หรือ เบลอ ของภาพ แต่อย่างใด ชุดโปรแกรมที่จะใช้จัดการภาพประเภทนี้คือ Adobe Illustrator    หรือ AI  และ โปรแกรม CorelDraw เป็นหลัก
    2. แบบบิทแมพ ( Bitmap ) เป็นภาพที่ประกอบขึ้นจากจุดสีขนาดเล็กๆ ที่เรียกว่า พิกเซล ( Pixel )  เรียงไล่เฉดสีกันจนเราสามารถมองเห็นเป็นภาพขึ้น ภาพปรพเภทนี้จะดูหยาบและเห็นรอยจุดสีอย่างชัดเจน โปรแกรมที่ใช้จัดการภาพประเภทนี้คือ  Adobe Photoshop หรือ PS และโปรแกรม PhotoPaint เป็นตัวหลัก



ภาพแบบเวคเตอร์ ที่สร้างจากโปรแกรม Illustrator เราสามารถนำไปขยายได้สูงสุดเท่าที่เราต้องการโดยที่ภาพไม่แตกหัก และ เบลอ


ทั้ง 3 ภาพล่างนี้เป็นภาพแบบบิทแมพ เมื่อเราขยายใหญ่จะสังเกตุเห็นภาพแตก มีรอยหยักที่ขอบภาพ และเลบอเสียสัดส่วน ไม่คมชัด



ภาพแบบบิทแมพ

ภาพแบบบิทแมพจะมีอยู่หลายชนิดไฟล์ที่เรารู้จักกันดีคือ
  1. JPG ( Joint Photographic Expert Group )  หรือ JPEG ภาพนี้สามารถแสดงสีได้สูงถึง 16.7 ล้านสี หรือ 24 บิท จึงเหมาะสำหรับภาพถ่ายและภาพที่ใช้สีมาก คุณสมบัติคือเมื่อแรกแสดงภาพจะเบลอก่อนแล้วค่อยๆชัดเจนขึ้น เรียกว่า Progressive ภาพชนิทนี้ไม่สามารถ ทำให้โปร่งใสหรือเคลื่อนไหวได้ และสามารถบีบอัดให้ไฟล์มีขนาดเล็กลงได้แต่คุณภาพก็จะต่ำลงตามด้วย ไฟล์ชนิดนี้อยู่ในนามสกุล .JPG. .Jpeg. .jfif.  หรือ .jpe.
  2. GIF  ( Graphic interchange Format ) ไฟล์ภาพชนิดนี้นิยมนำไปสร้างเป็นภาพ โลโก้ การ์ตูน ภาพวาดลายเส้น ตัวอักษร และภาพเคลื่อนไหว จุดเด่นของไฟล์ชนิดนี้คือเราสามารถกำหนดพื้นหลังให้เป็นแบบโปร่งใสได้จนมองทะลุด้านหลังได้ แต่มีข้อจำกัดตรงที่จำนวนเม็ดสีซึ่งสามารถใช้สีได้สูงสุดเพียง 256 เฉดสีเท่านั้นซึ่งเป็นข้อจำกัด และสีเหล่านี้ก็จะมีลักษณะเป็นสีทึบไม่ไล่ระดับ ไฟล์ GIF จะเป็นไฟล์ขนาดเล็กจึงนิยมนำไปใช้ในการตกแต่งเว็บไซต์ ทำป้ายโฆษณา ทำหัวคอลัมน์ ทำแบนเนอร์โฆษณา ในเว็บไซต์ต่างๆเนื่องจากไม่เปลืองพื้นที่และลดเวลาการดาวน์โหลดลงได้มาก
  3. PNG (  Portable Network Graphic ) เป็นไฟล์ภาพที่ถูกพัฒนาขึ้นมาแทนไฟล์ Gif เพื่อแก้ปัญหาเรื่องสิทธิบัตร ไฟล์ชนิดนี้มีคุณสมบัติเด่นคือ สนับสนุนระบบสีหลายรูปแบบ มีคุณสมบัติคล้ายกับ GIF  จึงนิยมนำไปใช้แทน GIF  ที่ติดปัญหาสิทธิบัตร โดย PNG-8 จะใช้สีได้ 256 สีเท่า Gif ส่วน PNG -24 ใช้สีได้สูงถึง 16.7 ล้านพิกเซล โดยโปรแกรมที่สามารถสร้างไฟล์รูปแบบนี้ได้ คือ PS ตั้งแต่ รุ่น CS3 เป็นต้นไป และ โปรแกรม FW  หรือ FIREWORK และ Macromedia
  4. TIFF ( Tagged Image File Format )  ไฟล์ภาพชนิดนี้นิยมใช้งานทางด้านสิ่งพิมพ์ เช่นโปรแกรมจัดหน้า หรือ PageMaker และ  InDesign ไฟล์ชนิดนี้ถูกพัฒนาขึ้นมาโดยความร่วมมือของ Aldus Corporation กับ บริษัท Microsoft สามารถใช้ได้ทั้งเครื่อง พีซี และแมค สามารถบีบอัดข้อมูลเป็นแบบ ซิบ Zip ได้โดยข้อมูลไม่เสียหาย แต่ไฟล์มีขนาดใหญ่
  5. RAW File ไฟล์ Raw  จะเป็นไฟล์ข้อมูลดิบทั้งหมดที่ถูกบันทึกหรือมาจากกล้องดิจิตอล ซึ่งจะมีความละเอียดของสีมากกว่าไฟล์ภาพที่มาจากไฟล์ JPG  แต่ขนาดของไฟล์ชนิดนี้จะใหญ่มาก โดยกล้องดิจิตอลแต่ละค่ายจะมีการบันทึกไฟล์ RAW ที่ต่างกันออกไป จึงไม่สามารถเปิดดูไฟล์ภาพโดยผ่านคอมพิวเตอร์ธรรมดาทั่วไปได้ ต้องใช้โปรแกรมดูภาพโดยเฉพาะ เช่น ACDSee เวอร์ชั่น 8 ขึ้นไป หรือดูและปรับแต่งผ่าน PS ได้









ไฟล์ GIF รูปแบบต่างๆ ตามที่เราสร้างสรรค์ขึ้นมา โดยไม่มีขอบจำกัดทางความคิด ยกเว้นข้อจำกัดเรื่องเฉดสี

  • กังวาล ทองเนตร รัฐศาสตร์ภาควิชาการปกครองมหาวิทยาลัยรามคำแหง กราฟฟิคดีไซน์ มัลติมิเดีย มหาวิทยาลัยรามคำแหง